Weight lifting ดีอย่างไร ทำอย่างไร ให้เหมาะสมกับการพัฒนานักกีฬา ดีอย่างไร
Weight lifting คือการออกกำลังกายโดยมีการใช้แรงต้านเพื่อช่วยพัฒนาสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ ให้สามารถทำงานหรือออกกำลังกายได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงมีศักยภาพมากพอที่จะรองรับการทำงานหนักๆ เช่นการแข่งขันกีฬา
โดยที่กล้ามเนื้อไม่เกิดอาการบาดเจ็บจากการใช้งานที่หนักจากการแข่งขัน
ทำอย่างไร
ในเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี เริ่มกระตุ้นด้วยกิจกรรมการเคลื่อนไหว (Active Start) เช่น หยิบ / จับ / คลาน / เดิน / วิ่ง เน้นการมีส่วนร่วมให้เด็กได้มีกิจกรรมได้เล่น
ต่อมาในช่วง 6-9 ปี เน้นการสร้างพื้นฐานการเคลื่อนไหว (Fundamental) เน้นกิจกรรมที่สนุกสนาน โดยอาจจะเพิ่มกติกา / เกม เข้าไปเพื่อความสนุกสนานและท้าทาย ตัวอย่างเช่น การพัฒนาทักษะกลไก / ความคล่องตัว / การทรงตัว / coordination / ความเร็ว / การวิ่ง / การกระโดด / การขว้างปาและการรับ / การพัฒนาความแข็งแรงโดยการใช้น้ำหนักตัว / กิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน /
ช่วง 9-12ปี เป็นช่วงการเรียนรู้การฝึกซ้อม (Learn to Train) เป็นการพัฒนาที่ต่อยอดมาจากการสร้างทักษะกลไกและกีฬาไปสู่ความเป็นเลิศ และการพัฒนาความสามารถทางด้านกีฬาตามความถนัด โดยสามารถเริ่มฝึกพัฒนาความแข็งแรงโดยใช้น้ำหนักของร่างกายได้ โดยเน้นไปที่ท่าทางการเคลื่อนไหวในการฝึกที่ถูกต้องเป็นหลัก รวมไปถึง มุ่งเน้นพัฒนาในเรื่องของมุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆในร่างกาย ให้สามารถเคลื่อนไหวได้สมบูรณ์ เพื่อรองรับการฝึกในอนาคตต่อไป
ช่วง 12-16ปี เป็นช่วงการฝึกซ้อมเพื่อรองรับการฝึก (Train to Train) เป็นการพัฒนาทักษะกีฬาเฉพาะด้าน และ พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้น้ำหนักตัวเป็นหลักหรือสามารถเพิ่มน้ำหนักจากขวดน้ำ หรือ เมดิซีนบอล โดยยังคงมุ่งเน้นไปที่การเคลื่อนไหวที่ถูกต้องในการทำกิจกรรมนั้นๆ เป็นหลักก่อน ที่จะใส่น้ำหนักเพิ่มเข้าไป
ช่วงอายุ 16-23 ปี เป็นช่วงการฝึกซ้อมเพื่อการแข่งขัน (Train to Compete) เป็นช่วงที่สามารถพัฒนาความแข็งแรงได้จากการเพิ่มน้ำหนักเข้าไปทั้งจาก บาร์เบล ดัมเบล แผ่นเหล็กเพิ่มน้ำหนัก เพื่อพัฒนาความแข็งแรงให้มากขึ้นไปอีกโดยเน้นไปที่การพัฒนาสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ต่างๆ และพัฒนาเสริมด้วยกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อสำหรับการเคลื่อนไหวสำหรับเล่นกีฬาหรือการใช้ชีวิตประจำวันทั่วๆไป โดยเริ่มจากน้ำหนักที่เบาที่สุดก่อน หรือ น้ำหนักที่สามารถทำได้ 10-15 หรือ 15-20 ครั้ง โดยที่การเคลื่อนไหวยังคงถูกต้องอยู่
ช่วงสุดท้ายคือช่วง อายุ19ปี ที่สามารถเป็นช่วงของการฝึกซ้อมเพื่อชัยชนะ (Train to Win) โดยอาจจะเป็นการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาความแข็งแรงสำหรับกีฬานั้นๆโดยเฉพาะมากขึ้นรวมไปถึงการพัฒนาที่เฉพาะเจาะจงกับรายบุคคลมากขึ้น เพื่อเป้าหมายในการแข่งขันในระดับที่สูงขึ้น
อ้างอิงจากการวางแผนระยะยาวสำหรับพัฒนานักกีฬา (Long Term Athlete Development : LTAD)”